วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไร่อ้อยคอยรัก

7 เทคนิคทำสมาธิบำบัดโรค

7 เทคนิคทำสมาธิบำบัดโรค

การฝึกสมาธิกำลังกลายเป็นศาสตร์ใหม่ที่ชาวตะวันตกให้ความสนใจนำไปใช้รักษาอาการป่วยกายหลายอย่าง โดยไม่ต้องพึ่งยาเคมีปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกานำเอาการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาไปรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาการซึมเศร้า รวมถึงภาวะทางจิตของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ (พีทีเอสดี)

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้หนึ่งที่สนใจนำการฝึกสมาธิมาประยุกต์ใช้รักษาโรค หลังจากทำการศึกษาจนค้นพบท่วงท่าการฝึกสมาธิสำหรับบำบัดภาวะเบาหวาน และโรคอื่น

จากผลวิจัยในคนไข้ ทำให้ได้เทคนิคบำบัดโรคที่พร้อมนำไปปฏิบัติได้จริงถึง 7 เทคนิค เพื่อประโยชน์ด้านการเยียวยาโรคที่เรื้อรังและการป้องกันการเกิดโรคในระยะยาว ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้เองไม่ยาก

ท่าแรกคือ ท่านั่งผ่อนคลาย

ประสานกายประสานจิต มีผลดีในด้านการลดความดันโลหิต การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ดีสามารถฝึกได้ทั้งท่านั่งด้วยการขัดสมาธิ หงายฝ่ามือทั้งสองข้างวางบนหัวเข่า หรือฝึกท่านอนให้วางแขนหงายมือไว้ข้างลำตัว หรือคว่ำฝ่ามือวางบนหน้าท้องก็ได้ จากนั้นหลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ พร้อมนับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้า ช้า เช่นกัน แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 เช่นกัน โดยทำซ้ำ 30-40 ครั้งวันละ 3 รอบก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที

ท่าที่ 2 เป็นท่ายืนผ่อนกายประสานการประสานจิต

ท่านี้จะช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และควบคุมการทำงานของไขสันหลังให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีปฏิบัติให้ผู้ฝึกยืนตรงในท่าที่สบายวางฝ่ามือซ้ายทาบที่หน้าอกแล้วนำฝ่ามือขวาวางทาบทับฝ่ามือซ้าย พร้อมกับค่อยๆ หลับตาจากนั้นสูดลมหายใจเข้าและออกเหมือนกับท่าแรก แต่เทคนิคนี้จะทำซ้ำ 120-150ครั้ง จึงลืมตาขึ้นช้าๆ และทำวันละ 3รอบโดยเพิ่มเวลาให้มากกว่าเดิมทุกครั้ง
ท่าที่ 3 การนั่ง เหยียด ผ่อนคลายประสานกาย ประสานจิต

ท่านี้จะช่วยลดไขมันหน้าท้องลดพุง และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี การปฏิบัติท่านี้ให้ผู้ฝึกนั่งราบกับพื้นในท่าที่สบาย เหยียดขาและเข่าให้ตึง หลังตึง เท้าชิด คว่ำฝ่ามือบนต้นขาทั้ง 2ข้างค่อยๆ หลับตาลงจากนั้นหายใจเข้าออกและนับเหมือนกับท่าแรก 3 ครั้ง จากนั้นต่อด้วยการหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้าผลักฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้าจนปลายมือจรดนิ้วเท้า หยุดหายใจชั่วครู่ และหายใจออกช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ดึงตัวและแขนเอนไปข้างหลังให้ได้มากที่สุดและนับเป็น 1 รอบ ทำซ้ำ 30 ครั้งแล้วค่อยๆ ลืมตา

ท่าที่ 4 การก้าวย่างอย่างไทย

เจ้าของท่าบอกว่า ในท่านี้ความยากของการฝึกจะมีมากขึ้น เริ่มจากยืนตรงในท่าที่สบายลืมตา มือสองข้างไขว้หลัง สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และทำเหมือนท่าแรก จนครบ 5รอบ จากนั้นให้ยืนตัวตรงมองต่ำไปข้างหน้าหายใจเข้าช้าๆ พร้อมค่อยๆ ยกเท้าขวาสูงจากพื้นเล็กน้อยหายใจออกช้าๆ พร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าจรดปลายเท้าแตะพื้น ตามด้วยส้นเท้าวางลงบนพื้น ส่วนเท้าซ้ายให้วางชิดเท้าขวาในช่วงหายใจออกทำซ้ำให้ได้ 20ครั้ง โดยที่เวลากลับตัวให้หมุนทางขวาโดยขยับเท้าให้เอียง 60องศาและ 90องศาในท่ายืนตรง ทำซ้ำด้วยการเดินกลับไปมา 2เที่ยว จะใช้เวลาประมาณ 45-60นาที หลังการฝึกวิธีดังกล่าวมีผลในเรื่องเพิ่มภูมิต้านทานโรคเรื้อรังทุกประเภท คล้ายกับการเดินจงกรม

ท่าที่ 5 ชื่อว่ายืดเหยียดอย่างไทย

ผู้ฝึกต้องเคลื่อนไหวอย่างช้า นับเลขอย่างช้าจะได้ประโยชน์สูงที่สุด โดยเริ่มฝึกจากวันละ 60 รอบและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในวันต่อๆ ไป ช่วยป้องกันโรคและเสริมสร้างสุขภาพๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจากท่ายืนตรงที่สบาย เข่าตึงและค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนกับท่าแรก จนครบ 5 รอบ จากนั้นต่อด้วยการค่อยๆ ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะให้ฝ่ามือประกบกัน แขนตึงแนบใบหู หายใจเข้าและออก 1 ครั้ง และค่อยๆ ก้มตัวลง โดยศีรษะ ตัวและแขนก้มลงพร้อมๆ กันอย่างเป็นจังหวะช้าๆ ไปเรื่อยๆ ให้ได้ 30 จังหวะเมื่อปลายนิ้วกลางจรดพื้นพอดี ตามด้วยหายใจเข้าและออกช้าๆ ลึกๆ 1 ครั้งและค่อยๆ ยกตัวกลับ ในท่าเดิมศีรษะตั้งตรงใน 30 จังหวะเช่นกัน
ท่าที่ 6 เป็นเทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ

เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้มีปัญหาระบบไหลเวียนอัมพาต ซึ่งประสาทการรับรู้ทั้งร่างกายไม่สามารถทำงานได้สะดวก แต่ประสาทการได้ยินยังทำงาน ผู้ดูแลจะต้องเป็นผู้ช่วยในการบอกให้เขาได้ยินและคิดตามตั้งแต่เริ่มนอนบนพื้นเรียบ แขนทั้งสองข้างวางแนบลำตัว และให้เขาหลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนท่าแรก 3รอบด้วยกัน แล้วให้เขาท่องในใจว่า

"ศีรษะเรากำลังเริ่มผ่อนคลาย ผ่อนคลายลงเรื่อยๆ" และกำหนดความรู้สึกไปที่อวัยวะที่เราจดจ่อไล่จากศีรษะ หน้าผาก ขมับ หนังตา แก้ม คาง ริมฝีปาก คอ ไหล่ ต้นแขน แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง ก้น ต้นขา เข่า น่อง เท้าและตัวเราทั้งตัว (ขณะที่ไล่มาถึงมือและเท้าให้ท่องว่า มือเรากำลังเริ่มหนักขึ้น หนักขึ้น เท้าเรากำลังเริ่มหนักขึ้น หนักขึ้น) เมื่อทำครบเช่นนี้แล้วให้หายใจเข้า กลั้นใจ หายใจออก เหมือนเริ่มต้นอีก 3 รอบ

ส่วนท่าสุดท้าย เป็นเทคนิคสมาธิการเคลื่อนไหวไทยชี่กง

เริ่มด้วยการยืนตัวตรงแยกเท้าทั้งสองข้างพอประมาณ ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนท่าแรกให้ครบ 5 รอบ จากนั้นค่อยๆ ยกมือขึ้น แขน ข้อศอกทั้งสองข้างอยู่ในระดับเอว โดยหันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากัน ขยับฝ่ามือเข้าหากันช้าๆ นับ 1-3 และขยับมือออกช้าๆ นับ 1-3 ทำทั้งหมด 36-40 รอบ และยืนอยู่ในท่าเดิม หายใจเข้าลึกๆ นับ 1-5 ค่อยๆ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ คล้ายกับกำลังประคองหรืออุ้มแจกันใบใหญ่ แล้วค่อยๆ ยกมือลงในท่าประคองแจกันเช่นกันนับเป็น 1รอบ โดยทำซ้ำ 36-40 รอบแล้วยืนในท่าเดิม ท่านี้จะช่วยลดอาการท้องผูก นอนไม่หลับ อาการปวดเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน และภูมิแพ้

"การฝึกสมาธิเพื่อบำบัดโรค แต่ละท่ามีความยากง่ายต่างกัน สำหรับคนที่ยังไม่เคยฝึกควรเริ่มจากท่าที่ 1เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องการหายใจให้ร่างกายก่อนที่จะเริ่มฝึกปฏิบัติในท่าที่ยาก เพราะหากร่างกายไม่พร้อมแล้วฝืนอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้เช่นกัน" หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข ม.มหิดล กล่าว

โยคะเพื่อสุขภาพ

การให้แคลเซี่ยมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

การให้แคลเซี่ยมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
            มักจะให้แคลเซียมในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง แต่ผลการป้องกันกระดูกพรุนพบว่าป้องกันได้น้อย นอกจากนั้นยังมีข้อขัดแยงถึงผลของแคลเซียมต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งการศึกษามีทั้งเพิ่มและลดการเกิดโรคหัวใจจึงได้มีการศึกษาถึงผลของแคลเซียมต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยศึกษาคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับแคลเซียม 500 มกฝวันอย่างน้อยหนึ่งปี อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาประมาณ 100 กว่าคน
            เมื่อวิเคราะร่วมกับการศึกษาลักษณะแบบเดียวกันอีก 5 การศึกาาพบว่า กลุ่มที่ได้รับแคลเซียมพบว่ามีอุบัติการณ์ของหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 แต่อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไม่ต่างกัน  ดังนั้นการจะรับประทานแคลเซียมเสริมควรจะชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และโทษ ควรจะหลีกเลี่ยงไปรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจะดีกว่า นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะพบมากในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงอยู่แล้ว ดังนั้นแนะนำว่าควรจะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงซึ่งปลอดภัยกว่าการรับประทานแคลเซยมเสริม

ไขมันปลาช่วยลดโรคหัวใจ

ไขมันปลาช่วยลดโรคหัวใจ
มีการศึกษาว่าการรับประทานน้ำมันปลาร่วมกับ Statin(ยาลดไขมัน)ในขนาดน้อยจะโอกาสเกิดโรคหัวใจซึ่งตีพิมพ์ในLancet. 2007;369:1062-1063, 1090-1098.
หมอ Mitsuhiro Yokoyama, จาก Kobe University ได้ศึกษาผู้ป่วยประมาณ 18000 คนครึ่งหนึ่งรับประทานน้ำมันปลา 1800 กรัม อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้รับประทานน้ำมันปลา ทั้งสองกลุ่มได้รับยาลดไขมันเหมือนกัน โดยติดตามการรักษาประมาณ 4.5ปี ผลการศึกษาพบว่า
  • การรับประทานน้ำมันปลาจะลดไขมันไม่อิ่มตัวได้ร้อยละ26(LDL Cholesterol)
  • อุบัติการณ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบลดลงร้อยละ 19
มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าการศึกษาเรื่องน้ำมันปลาในประเทศญี่ปุ่นและประเทศทางตะวันตกไม่เหมือนกัน การรับประทานปลาสัปดาห์ละ1-2 ครั้งก็เพียงพอที่จะป้องกันโรคหัวใจ แต่หากรับประทานปลาทุกวันก็จะลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

กรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนหมายถึงภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก
เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารจะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะมีหูรูดหรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะจะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก
โรคกรดไหลย้อนคืออะไร
คือภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว
สาเหตุของกรดไหลย้อน
  • Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
  • ดื่มสุรา
  • อ้วน
  • ตั้งครรภ์
  • สูบบุหรี่
  • อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด
  • ช้อกโกแลต
  • อาหารมัน ของทอด
  • หอมกระเทียม
  • มะเขือเทศ
อาการของกรดไหลย้อน
อาการทางหลอดอาหาร
  • อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
  • รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
  • กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
  • เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
  • มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
  • เรอบ่อย คลื่นไส้
  • รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
อาการทางกล่องเสียง และปอด
  • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
  • ไอเรื้อรัง
  • ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
  • กระแอมไอบ่อย
  • อาการหอบหืดแย่ลง
  • เจ็บหน้าอก
  • เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ
การรักษา
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
  • งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
  • ใส่เสื้อหลวมๆ
  • ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
  • งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
  • งออาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช้อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
  • รับประทานอาหารพออิ่ม
  • หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอักลม เบียร์ สุรา
  • นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
การรักษาด้วยยา
  • Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
  • ใช้ยา proton pump inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา1-3 เดือน เทื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ก็อาจจะลดยาลงได้ยาที่นิยมใช้ได้แก่ omeprazole , lansoprazole , pantoprazole , rabeprazole, และ esomeprazole
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C
หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมได้แก่
การรักษาโดยการผ่าตัด
จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลโรคแทรกซ้อน
  • หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออด หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
  • อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ